Uncategorized

4 วิธีการบริหารการเงินในสถานการณ์ COVID – 19

การเพิ่มสภาพคล่องกระแสเงินสด

เพื่อนำไว้ใช้จ่ายในช่วงโควิด สถานการณ์ปัจจุบันทำให้เรามีค่าใช้จ่ายทางสาธารณสุขเพิ่มขึ้น เช่น หน้ากากอนามัย (ส่วนใหญ่ก็ซื้อได้ในราคากล่องละ 750 บาท) เจลแอลกอฮอล์ วิตามินซี แต่การเดินทางไปในสถานที่ต่าง ๆ มีข้อจำกัดมากขึ้น จึงควรเพิ่มสภาพคล่องโดยการนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีสภาพคล่องมากขึ้นกว่าเดิม ตัวอย่างเช่น การโยกย้ายการลงทุนจากหุ้นกู้ หุ้นทุน การฝากเงินไว้กับสหกรณ์ เป็นการนำเงินไปฝากบัญชีออมทรัพย์ให้เพียงพอกับรายจ่ายประมาณ 6 เดือน (หากคาดการณ์ว่าสถานการณ์โควิดจะคงอยู่ประมาณ 6 เดือน) การเก็บเงินสดบางส่วนไว้กับตัว

การมองหานโยบายภาครัฐ หรือธนาคารแห่งประเทศไทยที่ช่วยเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด


เช่น ธนาคารพักชำระเงินต้นแก่ลูกหนี้ 3-12 เดือน ให้สินเชื่อเพิ่มสำหรับลูกหนี้ SME ขยายระยะเวลาวงเงินหมุนเวียน ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ (รายละเอียดขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคาร https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/Pages/FI_Support.aspx)  การคืนหลักประกันการใช้ไฟฟ้า มาตรการของสำนักงานประกันสังคม เช่น มาตรการเงินทดแทนจากการขาดรายได้ ลดอัตราเงินสมทบและขยายกำหนดเวลายื่นแบบอัตราเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตน ซึ่งนโยบายต่าง ๆ จะช่วยเพิ่มกระแสเงินสดรับหรือช่วยลดกระแสเงินสดจ่ายของพวกเราได้ ไม่มากก็น้อยค่ะ

มองหาอาชีพเสริม หรืออาชีพใหม่ที่มาทดแทนอาชีพเดิม

อาชีพที่รุ่งเรืองในภาวะนี้ เช่น พนักงาน grab bike youtuber ขายของออนไลน์ หากใครยังนึกไม่ออกว่าจะทำอาชีพอะไรดี ช่วงนี้เป็นเวลาที่ดีในการพัฒนาทักษะต่าง ๆ เพื่อเตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับโลกในยุคปัจจุบัน เช่น เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีในการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษจากห้องเรียนใน youtube หรือการดูหนังจาก Netflix พัฒนาบุคลิกภาพทั้งทางกายภาพ ทางอารมณ์และทางสติปัญญา ยกตัวอย่างเช่น ฝึกเล่นโยคะหรือเต้นแอโรบิคตาม youtube เป็นต้น

การลงทุนในตลาดหุ้น ตราสารหนี้ หรือหน่วยลงทุน

ปัจจุบันนี้ SET index ปิดที่ 1097 จุด (ข้อมูล ณ 27 มีนาคม 2563) ซึ่งสำหรับตลาดหุ้นไทย SET index เคยอยู่ในระดับนี้เมื่อประมาณ 7-8 ปีที่แล้ว จึงถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงที่จะเริ่มลงทุน หรือเก็บหุ้นเข้า port ในช่วงเวลานี้ เพราะสามารถซื้อหุ้นได้ในราคาที่ต่ำกว่าหากเทียบกับระยะเวลาในช่วง 7-8 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ในสถานการณ์ COVID-19 หลายธุรกิจที่ไม่มีสายป่านยาว อาจจะไม่สามารถดำเนินธุรกิจให้ผ่านพ้นช่วงนี้ไปได้ ดังนั้น ข้อควรระวังในการลงทุน คือ ควรเลือกธุรกิจที่มั่นคง มีความสามารถในเติบโตได้ในระยะยาว มีแหล่งเงินทุนที่มากพอที่จะดำรงธุรกิจได้ในระยะยาว เป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงที่จะโดน disrupt ต่ำ

อย่างไรก็ดี หากนักลงทุนไม่สามารถรับความเสี่ยงได้สูง ก็อาจเห็นมาลงทุนในกองทุนรวม money market fund และกองทุนรวมตราสารหนี้แทน เนื่องจากมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่ากองทุนหุ้น หรือการลงทุนซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อีกทั้ง ธนาคารแห่งประเทศไทยมีนโยบายให้ืความช่วยเหลือด้านสภาพคล่องแก่กองทุนรวมทุกกอง ที่เป็นกองทุน Money Market Fund และกองทุนรวมตราสารหนี้ที่เป็นกองเปิดทุกกอง ที่ได้รับผลกระทบจากการขาดสภาพคล่องของตลาดการเงิน โดยได้จัดตั้งกลไกพิเศษเพื่อช่วยเหลือด้านสภาพคล่องแก่กองทุนรวมตราสารหนี้ ซึ่งกองทุนรวมทุกกองจะขอรับสภาพคล่องผ่านธนาคารพาณิชย์โดยการกู้ยืมผ่านการธุรกรรม repo หรือการกู้ยืมเงินโดยมีหลักประกันและมีสัญญาว่าจะซื้อคืน ซึ่งธนาคารพาณิชย์ที่ให้ความช่วยเหลือจะสามารถกู้ยืมสภาพคล่องผ่านธุรกรรม repo จากธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษอีกด้วย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *