Uncategorized

บริหารเงินเดือนให้มีเก็บ

ขั้นตอนในการบริหารเงินเดือน

1. วางแผนก่อนแล้วค่อยใช้เงิน คือการที่คุณเริ่มตั้งเป้าหมายของการใช้เงิน ก่อนที่จะนำเงินส่วนนั้นไปใช้ค่ะ ก่อนอื่นเลยคุณควรเริ่มเปลี่ยนความคิดในตอนแรกที่ว่า การใช้จ่ายก่อน แล้วเหลือเท่าไรค่อยเก็บ นั่นเป็นความคิดที่ผิดอย่างมากค่ะ เพราะเท่ากับว่า คุณจะไม่เหลือเงินเก็บเลย เพราะในแต่ละวันคุณก็ต้องมีความจำเป็นที่จะใช้จ่ายอย่างแน่นอน เมื่อเห็นเงินในกระเป๋าเหลือ ซึ่งเป็นนิสัยของมนุษย์เราอยู่แล้วค่ะ ยิ่งมีเงินมาก ก็ยิ่งใช้มากนั่นเอง

การวางแผนให้มีเงินเก็บ เมื่อคุณรับเงินเดือนมา ควรทำการแยกบัญชีให้ชัดเจน เพื่อให้คุณสามารถเก็บเงินจำนวนหนึ่งได้อย่างเต็มที่ค่ะ การแบ่งเงินออกไปตามความจำเป็น คุณสามารถแยกเงินออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ

เริ่มจากส่วนแรก ควรแยกไว้ประมาณ 40% ค่ะสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็น อย่างเช่น ค่าเช่าบ้าน ผ่อนรถ ค่าน้ำ ค่าไฟ และอื่น ๆ ที่คุณจำเป็นต้องจ่ายถ้าไม่จ่ายแล้วไม่สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้

ส่วนที่ 2 ก็แยกไว้ 40% เป็นค่าใช้จ่ายประจำวัน ที่คุณสามารถใช้จ่ายได้ตลอดทั้งเดือนและอีก 20% ที่เหลือ คุณก็เก็บเอาไว้เป็นเงินออมไม่ควรนำมาใช้ คุณสามารถใช้ได้ในอนาคตเท่านั้น หรือไม่ก็นำไปลงทุน ก็จะทำให้เงินส่วนนี้มีเพิ่มมากขึ้น แต่คุณก็ห้ามนำเงินส่วนนี้ไปใช้โดยเด็ดขาดค่ะ ควรมีวินัยในการใช้จ่ายให้มาก ๆ เพื่อจำนวนเงินออมของคุณจะได้เพิ่มพูนขึ้น

2. ไม่ควรมีหนี้ หรือมีหนี้ให้น้อยที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ค่ะ เพราะนอกจากการไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐแล้ว การไม่มีนี้ก็ถือเป็นความโชคดีอีกอย่างหนึ่งด้วยค่ะ ผู้ที่ทำงานได้รับเป็นรายเดือนส่วนมากมักเจอกับปัญหาของเงินไม่พอใช้ เมื่อไม่พอใช้แล้วจะหาทางออกโดยการไปกู้หนี้ ยืมสินอีก ก็จะทำให้คุณมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น เพราะนอกจากคุณจะจ่ายเงินต้นคืนให้แล้ว คุณยังต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มให้เขาไปอีกด้วย นี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่คุณไม่สามารถมีเงินเก็บไปเลยค่ะ แต่หากคุณมีหนี้อยู่แล้ว คุณสามารถที่จะนำเงินที่คุณแยกไว้ใช้ประจำวันมาแยกย่อมเพื่อจ่ายหนี้ส่วนนี้ได้อีกด้วย แต่คุณอาจจะมีเงินใช้ต่อวันน้อยลงตามไปด้วยนะค่ะ


อย่างไรก็ตามการออมเงินของคุณจะสามารถประสบผลสำเร็จได้ก็ขึ้นอยู่กับวินัยส่วนตัวของคุณค่ะ ผู้อื่นไม่สามารถเข้าไปยุ่งหรือวุ่นวายได้ เราได้แค่แนะนำให้ผู้ที่อาจจะไม่รู้ว่าจะเริ่มยังไง แต่คุณจะทำได้หรือไม่ได้ก็ขึ้นอยู่กับตัวของคุณเองทั้งนั้น เราก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่าทุกคนจะสามารถทำได้เหมือนกันค่ะ

ตัวอย่างแรก : คุณได้รับเงินเดือน 15,000 บาท แต่ไม่มีหนี้ เริ่มการแยกบัญชีที่เราได้บอกสัดส่วนไว้ข้างต้น นั้นก็คือ 40:40:20 ค่ะ

• เงินส่วนแรก (15,000 x 0.40) เท่ากับ 6,000 บาท คุณสามารถนำเอาเงินจำนวนนี้ จ่ายสิ่งที่จำเป็นอย่างเช่น ค่าเช่นบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ รวมกันไม่น่าเกิน 5,500 บาท และส่วนที่เหลืออีก 500 บาทก็เป็นค่าโทรศัพท์ เท่านี้ก็น่าจะพอกับการใช้จ่ายสิ่งจำเป็นแล้วล่ะค่ะ

• เงินส่วนที่สอง (15,000 x 0.40) เท่ากับ 6,000 บาทเช่นกัน เป็นเงินที่คุณจะต้องใช้ให้ได้ 30 วัน (6,000 หาร 30) จะได้ 200 บาทต่อวัน คุณไม่ควรใช้เงินเกิน วันละ 200 บาทนะค่ะ เพื่อให้คุณเป็นหนี้เกิดขึ้นนั่นเอง

• เงินส่วนที่เหลืออีก (15,000 x 0.20) เท่ากับ 3,000 บาท นี้เป็นเงินเก็บที่คุณไม่ควรใช้โดยเด็จขาดค่ะ เพราะนี้คือเงินในอนาคตของคุณ หากคุณนำไปลงทุนก็สามารถได้ คุณได้นำส่วนนี้ไปลงทุนเพิ่มเงินขึ้นมาได้อีก (การลงทุนมีความเสี่ยงควรศึกษาก่อนตัดสินใจค่ะ)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *